http://kohkhokhao.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
หน้าแรก บทความ  ข้อมูลทั่วไป ข่าวสาร อสังหาริมทรัพย์ รวมรูปภาพ เว็บบอร์ด
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ที่พัก & โรงแรม
ข่าวสาร
อสังหาริมทรัพย์
สินค้าชุมชน
ภาพจากเกาะคอเขา
แผนที่เกาะคอเขา
หนังสือพิมพ์
เว็บบอร์ด
ท่องเที่ยวเกาะคอเขา
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสิ่งแวดล้อม
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับที่ดิน
เรื่องเล่าจากพลเมือง
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

ปัญหาที่ดิน แก้ได้...ในจังหวัด

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะชี้นิ้วไป ณ จุดไหนบนแผ่นดินไทย โดยเฉพาะที่ดินในชนบท ล้วนแต่มีปัญหาในเรื่องกรรมสิทธิทั้งสิ้น บ้างก็เป็นที่ดินบุกรุก บ้างก็มีปัญหาทางราชการ หลายหน่วยงานประกาศทับที่ซึ่งราษฎร์อาศัยอยู่ก่อน แต่ไม่ว่าจะมีปัญหาประเภทไหน ผู้ที่เดือดร้อนก็คือ “ชาวบ้าน” ซึ่งมักจะเสียเปรียบด้านความรู้ กฎระเบียบของทางราชการและขาดอำนาจต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาประเภทไหน ผู้ที่ขาดความมั่นคงในชีวิตก็คือ “ชาวบ้าน” ซึ่งการขาดความมั่นคงนี้นำมาซึ่ง “ความยากจน” ที่กำลังเป็นปัญหากัดกร่อนสังคมไทยอยู่ในขณะนี้

ผู้เขียนมีโอกาสติดสอยห้อยตาม พล.อ.สุรินทร์  พิกุลทอง ประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนด้านที่ดิน ของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน(ศตจ.) ตั้งแต่สมัยท่านเป็นประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนกรณีผู้ประสบภัยสึนามิ ซึ่งผลงานในครั้งนั้น ท่านสามารถแก้ปัญหาได้ถึง 13 ชุมชน จำนวน 1,156 ครอบครัว และอยู่ในระหว่างพิจารณาอยู่อีก 58 ชุมชน

ในการลงพื้นที่แต่ละครั้ง พล.อ.สุรินทร์  พิกุลทอง พูดอยู่เสมอว่า คณะของท่านเป็นเพียงลงไปรับฟังปัญหาและให้คำแนะนำเท่านั้น เพราะปัญหาสามารถแก้ได้ในระดับพื้นที่ ถ้าจริงใจในการแก้ปัญหา เพราะการแก้ปัญหาที่ดินบุกรุก กฎหมายให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดไว้แล้ว

ล่าสุดเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่จังหวัดระนอง ซึ่งท่านบอกว่าเป็นจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนขยันและเอาการเอางาน จึงน่าจะแก้ปัญหาได้ไม่ยาก

ด้วยประสบการณ์ของท่านที่เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบด้านที่ดินมาเกือบ 20 ปี ทำให้ท่านมีความรู้ด้านกฎหมายและมีประสบการณ์ด้านที่ดินเป็นอย่างมาก แต่ท่านบอกว่า การแก้ไขปัญหาที่ดินบุกรุกต้องถือหลักข้อเท็จจริงที่ดำรงอยู่ในแต่ละพื้นที่ ส่วนกฎหมายนั้นหลักใหญ่ๆ แล้วจะมีอยู่ 2 ประการ คือ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ที่กำหนดว่า ถ้าประชาชนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ห้ามไม่ให้จับกุม หรือดำเนินการใดๆ กับประชาชน จนกว่าจะมีการสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ ส่วนประชาชนก็ห้ามไม่ให้บุกรุกเพิ่ม และหลักอีกประการหนึ่งก็คือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ว่าด้วยการพิสูจน์สิทธิในกรณีบุกรุกที่ดินของรัฐที่มีผู้ว่าเป็นประธาน กล่าวคือ ระเบียบนี้ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลที่ดินในจังหวัด ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดเพียงลำพัง

พล.อ.สุรินทร์ มักพูดอยู่เสมอว่า หากเกิดปัญหาเรื่องที่ดิน ถ้าปัญหาถูกหยิบยกมาพูดคุยกันในที่ประชุม ซึ่งมีผู้ว่าเป็นประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งชาวบ้านร่วมกันนำข้อเท็จจริงมาพูดคุยกัน ปัญหาก็ยุติได้ แต่ที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะต่างคนต่างทำในสังกัดของตนเอง เช่น ถ้าชาวบ้านมีปัญหากับกรมป่าไม้ กรมป่าไม้ก็สรุปปัญหาส่งไปที่สังกัดของตนเอง ณ ส่วนกลาง ซึ่งเป็นการแก้ที่ไม่ถูกวิธี เพราะนี่เป็นเพียงการจัดทำระบบข้อมูลของหน่วยงานตนเอง ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา การแก้ปัญหาที่ถูกคือต้องนำข้อเท็จจริงมาคุยกันโดยมีผู้ว่าเป็นประธาน

การแก้ปัญหาบนโต๊ะประชุมที่มีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานนั้น จริงๆ แล้วก็ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนอะไร โดยก่อนการประชุม ผู้เกี่ยวข้องจะต้องจัดเตรียมข้อมูลมาพิสูจน์กัน ซึ่งพอจะสำดับขั้นตอนได้ดังนี้ คือ

ประการแรก คือ การเตรียมข้อมูลของชาวบ้าน เพื่อนำไปพิสูจน์ให้ได้ว่า ชาวบ้านได้อยู่อาศัยมาก่อน ซึ่งก็มีหลักฐานอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น วัด ที่ฝังศพ ต้นไม้ที่ปลูกเอาไว้ คนเฒ่าคนแก่ที่พอจะบอกประวัติชุมชนได้ว่าอยู่อาศัยมาตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือแม้แต่การที่จะบอกว่าหมู่บ้านเรามีผู้ใหญ่บ้านมาแล้วกี่คน เป็นต้น เช่น ในพื้นที่สึนามิแห่งหนึ่งชาวบ้านบอกประวัติว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีอายุ 100 ปี เพราะมีผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว 13 คน เป็นต้น

หลังจากสืบประวัติและรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้แล้ว ก็ร่วมกันจัดทำแผนที่ “ทำมือ” ว่า ตรงไหนเป็นบ้าน เป็นที่สวน ที่นา เป็นถนน เป็นวัด เป็นต้น

ทั้งหมดที่กล่าวมาก็จะได้ข้อมูลจากภาคประชาชนขึ้นมาชุดหนึ่งที่จะนำไปสู่การหารือระดับจังหวัด

ประการถัดมา ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เป็นกรณีพิพาทกับชาวบ้านไม่ว่าจะเป็น ป่าไม้ อุตสาหกรรมป่าไม้ กรมเจ้าท่า ราชพัสดุ สปก. ฯลฯ หน่วยงานเหล่านี้จะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า หน่วยงานตนได้ประกาศเขตก่อนหรือหลังการเข้าอยู่อาศัยของชาวบ้าน หรือกรณีที่นายทุนเข้ามาทำประโยชน์ เช่น การทำเหมืองแร่ ให้ทำตั้งแต่เมื่อไหร่ ยกเลิกเมื่อไหร่ เป็นต้น เพราะข้อมูลเหล่านี้จะต้องนำไปยันกับข้อมูลที่ชาวบ้านมีอยู่

และขั้นตอนสุดท้ายก็ให้นำข้อมูลทั้งหมดเข้าสู่ที่ประชุม โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน หากพิสูจน์ได้ว่าชาวบ้านอยู่อาศัยภายหลัง ก็ต้องหาทางแก้ปัญหาโดยนิ่มนวลกับชาวบ้าน  แต่หากพิสูจน์ได้ว่าชาวบ้านอยู่มาก่อน รัฐจะต้องกันพื้นที่ให้กับชาวบ้านอยู่ต่อไปอย่างชัดเจน โดยใช้แผนที่ 1:4,000 เป็นเครื่องมือสวมทับกับแผนที่ทำมือของชาวบ้าน คือ ต้องกันเขตชุมชนออกให้ชัดเจน เพื่อชาวบ้านจะได้อยู่อาศัยต่อไปได้ และป้องกันการออกถูกบุกรุกเพิ่มโดยใครก็ได้

วิธีการเช่นนี้ แม้ชาวบ้านจะไม่ได้กรรมสิทธิเป็นรายบุคคล แต่ก็เป็นกรรมสิทธิรวมทั้งชุมชน ซึ่งต่อไปก็เป็นเรื่องภายในที่ชุมชนจะต้องจัดการกันเอง ซึ่งโดยปกติชาวบ้านเหล่านี้ก็แสดงเจตนารมย์ที่จะให้ออกมาเป็นกรรมสิทธิ์รวมอยู่แล้ว เพียงเท่านี้ประชาชนก็จะอยู่ต่อไปได้อย่างอุ่นใจและมั่นคง จากนั้นก็ให้ส่งมตินี้ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อออกเอกสารรับรองให้ถูกต้อง

“พอเรื่องได้ข้อยุติก็คือว่าชาวบ้านมีกรรมสิทธิรวม การทำเอกสารเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน เรื่องของกระดาษจะให้ประชาชนรอเป็นไปไม่ได้” พล.อ.สุรินทร์ให้ความเห็น

พล.อ.สุรินทร์  พิกุลทอง ให้ความเห็นต่อไปอีกว่า ที่ผ่านมา ที่แก้ปัญหาไม่ได้มันมีอยู่หลายสาเหตุ เช่น ข้าราชการหรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. บางคนไม่สุจริต สมคบกับนายทุนที่เข้ามาหาประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งชาวบ้านอาศัยอยู่เดิม แต่ที่คิดว่าเป็นปัญหามากที่สุดก็คือ ต่างคนต่างแก้ปัญหาไม่ถูกหยิบยกมาแก้ร่วมกัน บางหน่วยงานก็ยึดกฎหมายที่ตนถืออยู่เคร่งครัดจนเกินไป หากเป็นเช่นนี้รับรองจะแก้ไม่ได้เลย แม้แต่กรณีเดียว

“เรื่องนี้ก็ต้องยกพระราชดำรัสของในหลวง ที่ทรงให้โอวาสแก่ผู้พิพากษา ในปี 2514  ว่า “อย่าใช้กฎหมายมารักษากฎหมาย แต่จงใช้กฎหมายไปรักษาความเป็นธรรมตามสภาพความจริงของที่เหล่านั้น” พล.อ.สุรินทร์จะยกพระราชดำรัสนี้พูดกับผู้เกี่ยวข้องเสมอที่ลงพื้นที่

แต่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านั้นก็คือ การทำให้ภาคประชาชนได้มีโอกาสแก้ปัญหาโดยเขาเองและทำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาทำงานร่วมกันอย่างเข้าใจ และเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง


ที่มา : http://www.codi.or.th/

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

 
view