http://kohkhokhao.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
หน้าแรก บทความ  ข้อมูลทั่วไป ข่าวสาร อสังหาริมทรัพย์ รวมรูปภาพ เว็บบอร์ด
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ที่พัก & โรงแรม
ข่าวสาร
อสังหาริมทรัพย์
สินค้าชุมชน
ภาพจากเกาะคอเขา
แผนที่เกาะคอเขา
หนังสือพิมพ์
เว็บบอร์ด
ท่องเที่ยวเกาะคอเขา
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสิ่งแวดล้อม
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับที่ดิน
เรื่องเล่าจากพลเมือง
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

ข้อเสนอโครงการคลองกระ 2557

ข้อเสนอโครงการคลองกระ 2557

     มีกระแสว่าในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ไม่ควรเปิดโครงการขนาดใหญ่ Mega Project อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้วการสร้างโครงการขนาดใหญ่ในสถานการณ์พิเศษก็สามารถทำได้ เพียงแต่หากโครงการเมกะโปรเจกต์ที่เกิดขึ้นจากการเมืองก็จะผันแปรไปกับการเมือง ดังนั้นหากโครงการเหล่านั้นเกิดขึ้นจากความจำเป็นก็จะแปรผันตามการเมืองน้อยกว่าสิ่งเหล่านี้ทำได้โดยการสร้างกรอบโครงการให้ขึ้นตรงต่อระบบ
บริหารจัดการของโครงการให้มากที่สุด มากกว่าจะยึดตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคล และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกครั้งแล้วมีการเปลี่ยนผู้บริหาร โครงการขนาดใหญ่เหล่านั้นก็ยังสามารถดำเนินต่อไปได้และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดยระบบโครงสร้างของโครงการเองจะเป็นกลไกที่ทำให้โครงการดำเนินต่อไปได้
ในกรณีนี้บุคลากรนอกสายวิชาชีพอาจไม่ทราบวิธีการ แต่ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรมและการก่อสร้างย่อมมีความเชี่ยวชาญในสายงานวิชาชีพของตน พวกเขาสามารถเขียนรายละเอียด หรือ Term of Reference : TOR ได้เป็นเรื่องปกติ ดังนั้น คณะผู้บริหารในกรณีพิเศษควรเชิญบุคลากรเหล่านั้นมาทำหน้าที่ที่พวกเขาเชี่ยวชาญด้านนี้มากกว่าท่าน และอาจจะเป็นสิ่งที่จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติได้มากกว่า
     สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันนี้มีลักษณะพิเศษดั่งที่เราทราบกันดี ในวิกฤตก็ย่อมมีโอกาสเสมอ เพียงแต่ต้องการผู้ปกครองที่มีวิสัยทัศน์ที่จะมองเห็นการพัฒนาประเทศชาติ มีอภิมหาโครงการหนึ่งซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นได้ในเหตุการณ์ปกติ เพราะเป็นโครงการที่เกิดผลกระทบต่อภูมิภาคมหาศาล สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤต เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้เพราะคุณประโยชน์อเนกอนันต์ของโครงการนี้มีมากมายมหาศาล และจะส่งผลโทษมหันต์เท่าเทียมกันตามมา หากไม่มีการบริหารจัดการที่รอบคอบและมีประสิทธิภาพ โครงการนี้คือ
โครงการคลองกระคลองในตำนาน คลองในประวัติศาสตร์ที่ยังไม่เคยแม้แต่จะเริ่มทำการขุด แต่ส่งผลสะท้านสะเทือนไปทั่วภูมิภาคเอเชียมานานแล้วเราเกรงว่าคลองกระจะส่งผลกระทบต่อประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ดีที่สุดของอาเซียนจากการขนส่งทางทะเลและจะกระทบต่อประเทศอื่นๆ โดยรอบประเทศไทยในเขตอาเซียน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบกระแสเศรษฐกิจของเอเชียและของโลก เหล่านี้เป็นเหตุผลภายนอกที่ประเทศไทยไม่กล้าเปิดโครงการที่กระทบความสัมพันธ์กับต่างชาติ ส่วนเหตุผลภายในเป็นกรณีเรื่องงบประมาณการลงทุนมหาศาล จะคุ้มค่าหรือไม่ เส้นทางเดินเรือจะเข้ามาเป็นลูกค้าเพียงพอหรือไม่ การลงทุนจากต่างชาติจะเข้ามาสร้างโครงการและกอบโกยผลประโยชน์ของประเทศไทยออกไป แล้วทิ้งเศษเงินให้แก่บางกลุ่มบางคนและมลภาวะให้แก่ประชาชนท้องถิ่นเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ ในสถานการณ์ปกติแล้ว เหตุผลเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง ต้องระมัดระวังกันจริงๆ ด้วยประสบการณ์การเมืองการปกครองในอดีตที่อาจมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นเหมือนธรรมเนียมปฏิบัติกันมา ปัญหาต่างๆ เหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นจริง แต่ในสถานการณ์พิเศษเช่นนี้ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ทางฝ่ายผู้ปกครองระมัดระวังมาก ซึ่งอย่างน้อยก็ยังคงเป็นอยู่ในขณะนี้ และการปลดแอกประเทศไทยออกจากการครอบงำของต่างชาติมีความชัดเจนมากขึ้นดังปรากฏในปัจจุบัน โครงการคลองกระที่มีพลานุภาพและผลกระทบมหาศาลนี้จึงอาจเหมาะสมที่ควรจะนำมาพิจารณาให้เป็นรูปธรรมก่อนที่โอกาสพิเศษนาทีทองนี้จะผ่านพ้นไป

ในการพิจารณาเปรียบเทียบการใช้คลองกระกับการเดินเรือผ่านช่องแคบสิงคโปร์แล้ว เราจะพบว่ารายจ่ายของโลจิสติกส์ทางทะเลนี้ไม่ต่างกันมากนัก ในขณะที่ระยะเวลาเดินเรือก็ลดลงไม่มากและเมื่อพิจารณาการขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลงที่ท่าเรือของประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซียแล้วยิ่งไม่ต่างกัน เพราะท่าเรือไทยมีอัตรา Birth Occupy และการขนถ่ายสินค้าช้ากว่ามาก ดังนั้นจึงไม่มีเรือสินค้าใดจะมาใช้คลองกระให้ยุ่งยาก และไม่ได้ลดเวลาหรือลดต้นทุนค่าใช้จ่ายตามหลักโลจิสติกส์เลย อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้เป็นความคิดของบุคคลทั่วไป แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าในการเดินเรือทะเลผ่านช่องแคบมะละกานั้นยังมีปัจจัยเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบอีกมากมาย ดังเหตุการณ์เรืออรพิน 4 ของประเทศไทยโดนโจรสลัด
ปล้นนํ้ามันจำนวน 3 ล้านตัน มีลูกเรือ 14 คน และเป็นครั้งที่ 2ของเรือสินค้าบริษัทนี้ แล้วบริษัทเดินเรืออื่นๆ จะมีสถิติการโดนปล้นนํ้ามันและสินค้าเท่าใด การปล้นนํ้ามันโดยถ่ายนํ้ามัน 3 ล้านตันใช้เวลาถึง 11 ชั่วโมง โจรสลัดมีเรือนํ้ามันของตนเองที่มีความจุได้ถึง 3 ล้านตันเชียวหรือ เรือนั้นก็ควรมีขนาดเท่าเรืออรพิน 4 นั่นเองและเข้ามาทำการปล้นอย่างสบายเกิดขึ้นได้อย่างไรถึง 11 ชั่วโมงสิ่งเหล่านี้เป็นการจ่ายค่าธรรมเนียมแบบพิเศษในช่องแคบสิงคโปร์หรือไม่ ปัจจัยที่จะต้องชำระนอกเหนือจากการเก็บค่าธรรมเนียมปกติและเงื่อนไขอื่นๆ อีกมากที่ในวงการเดินเรือทะเลเขาทราบกันดี (เหมือนการเดินรถบรรทุกสินค้าช่องทาง R3W (Road Number 3 West)จากจีนผ่านพม่ามาไทย จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแก่ชนกลุ่มน้อยติดอาวุธในพม่า จึงมีรถบรรทุกจีนเท่านั้นที่เดินรถได้ ส่วนรถบรรทุกของประเทศอื่นๆ แม้จะยอมจ่ายก็ยังไม่รับประกันความปลอดภัย จึงต้องใช้เส้นทาง R3E (Road Number 3 East) จากจีนผ่านลาวมาไทยที่ไกลกว่า เป็นต้น) ดังนั้นการใช้คลองกระจะลดความเสี่ยงในการขนส่งทางทะเล ลดค่าใช้จ่ายเล็กน้อย แต่ปลอดภัยทั้งชีวิตคนและทรัพย์สินบริษัทเดินเรือได้เครดิตจากเจ้าของสินค้า จากประกันภัยทางทะเลและอื่นๆ และหากไม่ขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือไทยก็ยิ่งไม่เสียเวลาสามารถแล่นไปสู่ปลายทางได้เลย ทั้งนี้ไม่ต้องจอดเรือรอใช้ช่องแคบ
ที่ปัจจุบันมีการจราจรที่ติดขัด เป็นเงื่อนไขที่น่าสนใจสำหรับการเดินเรือ หน่วยงานโลจิสติกส์ทางทะเลและที่เกี่ยวข้องทราบดี จึงเห็นช่องทางที่จะใช้คลองกระ แม้จะประหยัดเวลาเพียง 2-3 วันเหมือนกับคลองคีลของประเทศเยอรมนีก็ตาม แต่คลองกระก็ไม่เคยเกิดขึ้นมา200 ปีแล้ว จึงไม่มีทางเลือกสำหรับการเดินเรือทางทะเลอื่นนอกจากใช้ช่องแคบสิงคโปร์อย่างเดียวอย่างไรก็ตามโครงการคลองกระที่ประเทศไทยละเลยมานาน
แล้ว ยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของนานาชาติในเอเชียมาจนปัจจุบันนี้ ด้วยความสำคัญและผลประโยชน์มหาศาล เพียงแต่รอเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การพิจารณาโครงการคลอง
กระของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ได้มีโอกาสเข้าร่วมการเสวนากลุ่มเล็กที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคลองกระชาวไทยทั้งส่วนมหาวิทยาลัย
และรัฐสภา 5 คน กับผู้บริหารชาวญี่ปุ่น Dr.Norio Yamamotoซึ่งเป็นประธานบริหาร Executive Vice President ขององค์การ GIF Global Infrastructure Fund (http://www.ecdc.net.cn/
partners/gif.htm) ในการประชุมครั้งนั้นพบว่า องค์กร GIF ยังคงให้การสนับสนุนโครงการคลองกระเส้นทาง 5A สตูล-สงขลา ตั้งแต่ปี 2520 จนปัจจุบัน และรัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมให้การสนับสนุนการลงทุนก่อสร้าง รวมทั้งการดำเนินการทั้งหมด ทั้งนี้เพราะประเทศญี่ปุ่นใช้นํ้ามันจากตะวันออกกลางเป็นพลังงาน 75% ของประเทศ หากเรือบรรทุกนํ้ามันสามารถลดระยะเวลา 15 วันและ 20 วัน ตามลำดับ(ไม่นับช่องแคบสิงคโปร์ เพราะไม่อนุญาตให้เรือนํ้ามันขนาดใหญ่ผ่านอยู่แล้ว) และปัจจุบันราคานํ้ามันเพิ่มขึ้นจนเกือบจะเกิดวิกฤตดังในอดีตปี 2529 คลองกระเส้นทาง 5A สตูล-สงขลา จะลดรายจ่ายเท่าใด อาจเป็นเหตุผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงสนับสนุนโครงการนี้อย่างเร่งด่วน….” แม้ในปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นก็ให้การสนับสนุน LandBridge ก็ด้วยเหตุผลเดียวกัน เราจึงพบว่าโครงการท่าเรือสองทะเลสตูล (ปากบารา)สงขลา ที่ญี่ปุ่นและตะวันออกกลางสนับสนุนนั้น มี
สาระสำคัญในการขนถ่ายนํ้ามันเชื้อเพลิงข้ามทะเลจากตะวันออกกลาง
มาสู่เอเชียตะวันออกไกลทั้งสิ้น


      ในการประชุมสัมมนาในวงการโลจิสติกส์ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
คือ Asian Logistics Round Table, ALRT Workshop Bangkok 2-3 April 2013 จัดโดย หลักสูตรวิทยาการจัดการโลจิสติกส์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนักวิชาการของรัฐบาลจีนบรรยายและกล่าวถึงโครงการคลองกระ คือ Dr.Kevin Li, Chung-Ang University– Prof. in Maritime Law & Policy, Hong Kong Polytechnic University – Prof. in Maritime Law, P&I Club – Claims manager and The Ministry of Transportation, PRC – Legal Adviser, (Sectary to the draft group of Maritime Code 1992-1993) มีการเสนอแนวทางการศึกษาในอนาคต ก็มีส่วนของการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของประเทศจีนต่อไป คือ Implications and future study : To test the study with more data, To test the
study with more indicators, To guide Chinese maritime policyto avoid an over-open policy or vice-versa ประเด็นสำคัญของการบรรยายนี้จะชี้ให้เห็นว่า ในกระบวนการโครงสร้างโลจิสติกส์ทางกายภาพนั้น ประเทศจีนจับตาดูความเคลื่อนไหวของประเทศไทยอยู่ตลอดเวลา และโครงการขนส่งทางทะเลที่เราลืมเลือนไปนานแล้ว แต่ประเทศจีนยังไม่คลาดสายตาคือ คลองกระ Thai Canal” ซึ่งอยู่ในแผนการพิจารณาของประเทศจีน ดังแสดงในแผนภูมิของรัฐบาลจีนที่ Dr.Kevin Li แสดงดังนี้


    ทั้งนี้จะพบว่านอกจากประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังมีประเทศอื่นๆ ให้การติดต่อประสานงานทั้งในภาครัฐและเอกชนรวมทั้งเผยแพร่ในวงการวิชาการของประเทศไทยเป็นอันมาก ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาหลังจากเสร็จสิ้นโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศจีนแล้ว รัฐบาลจีนยังเสนอจะทำการก่อสร้างโครงการคลองกระให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ขอเป็นสัมปทานรอบคลองกระ รวมทั้ง
แรงงาน 1 ล้านคนที่นำเข้ามาในโครงการ (ที่อาจจะตั้งถิ่นฐานในพื้นที่โครงการคลองกระนี้เอง ไม่กลับประเทศจีน) และปัจจุบันก็มีข่าวจากจีน ดังนี้ China to bypass Malacca Strait by Kra Isthmus Canal
in Thailand (Posted by chankaiyee2 •March 16, 2014) http://chinadailymail.com/2014/03/16/china-to-bypass-malacca-straitby-kra-isthmus-canal-in-thailand/ ส่วนประเทศญี่ปุ่นก็เสนอจะดำเนินการโครงการคลองกระให้
ในราคามิตรภาพ แต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเขาที่จะทำการศึกษาความเหมาะสมเอง หรือเรียกว่าความช่วยเหลือทางวิชาการ และใช้บุคลากร วัสดุอุปกรณ์และ
เทคโนโลยีนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นที่รับเป็นผู้ดำเนินงานโครงการทั้งหมดและยังผลประโยชน์เป็นของเขาเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเรื่องการขนถ่ายสินค้าและนํ้ามันที่ประเทศญี่ปุ่นต้องใช้ในการผลิตอุตสาหกรรมก็ต้องผ่านเส้นทางนี้ด้วยหรือแม้แต่ประเทศสิงคโปร์ก็จะสนับสนุนโครงการคลองกระ โดยรับเข้ามาขอสัมปทานโครงการนี้ จะทำให้ประเทศสิงคโปร์มีเส้นทางเดินเรือ 2 สาย ที่ช่องแคบสิงคโปร์และที่คลองกระ ดังปรากฏในแนวทางของบริษัทเทมาเซ็กซึ่งใช้กักระบวนการสื่อสารดาวเทียมคมนาคมของประเทศไทยมาแล้วในอดีต ทั้งนี้ไม่รวมประเทศอื่นๆ ที่สนใจจะเข้าร่วม

ดำเนินการกับโครงการคลองกระของประเทศไทยอีกหลายแห่งนับเป็นบทเรียนที่ประเทศไทยต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ด้วยประเด็นของโครงการคลองกระในปัจจุบันนี้มิได้อยู่ที่ความคุ้มทุน ระยะเวลาและเทคโนโลยีการดำเนินการที่เกรงจะก่อสร้างไม่ได้แล้ว เพราะหลายประเทศพร้อมจะลงทุนช่วยเหลือโครงการ แต่จะมีความสำคัญตรงที่ใครจะเข้ามาลงทุนและเราจะรักษาผลประโยชน์ของประเทศได้อย่างไรเมื่อตัดสินใจเปิดโครงการนี้ในส่วนรายละเอียดของการศึกษาวิจัยในยุคปัจจุบันที่องค์ความรู้และเทคโนโลยีก้าวกระโดดพัฒนาไปมากแล้ว ขอสรุปการวิเคราะห์แนวทางของคลองกระที่มิใช่เป็น 9 เส้นทางเหมือนในอดีต แต่เป็น
3 กลุ่มเส้นทางขององค์กรที่มีวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ต่างกันดังนี้

      1. แนวเส้นทาง ระนอง-ชุมพร 2A แนวเส้นทางนี้ได้ถูกกำหนดมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์แล้ว และนำมาวิเคราะห์พัฒนาโดยองค์กรอิสระชื่อ ชมรมอาสาสมัครเพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ประชาชน อชวท. (คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เพื่อโลจิสติกส์ขนาดเล็กและการทหารเป็นหลัก โดยมีลักษณะของคลองคอคอดกระโดยทั่วไปดังนี้

      •เป็นคลองคอคอดกระสาย 2A ระนอง-ชุมพร จะมีระยะห่างจากท่าเรือแหลมฉบัง และฐานทัพเรือสัตหีบเพียง 350 กม. เข้าชุมพร และอีก 90 กม. เข้าระนอง ก็จะออกทะเลอันดามันได้ต่อไป
      •เป็นคลองคอคอดกระภายในประเทศไม่ติดพรมแดนมาเลเซียกว้าง 50 เมตร ความลึก 5 เมตร เพื่อเรือทหารขนาดเล็กใช้เหมือนที่แล่นในคลองคีล และใช้กับเรือสินค้าลำเล็ก หรือเรือบาสท้องแบน และ
เรือประมงเท่านั้น ที่แล่นปัจจุบันในท่าเรือกรุงเทพฯ ท่าเรือระนองและท่าเรือกันตัง กินนํ้าลึก 3.5 เมตร ระยะปลอดภัย 1.5 เมตร
      •ด้วยระยะช่องแคบ (ชุมพร-ระนอง) 90 กิโลเมตร คลองคอคอดกระจะเชื่อมแม่นํ้าหลังสวนเดิม 17 กิโลเมตร ขุดเพิ่มบางส่วน 33 กิโลเมตร สร้าง Water Bridge แบบที่ท่าเรือฮัมบูร์ก 40กิโลเมตร ขนาดกว้าง 30 เมตร ลึก 5 เมตร เป็นสะพานลอยนํ้า ยกเหนือระดับพื้น Water Bridge (Hamburg Germany) ถูกกว่า
Motorway กรุงเทพฯ-ชลบุรี ยาว 120 กิโลเมตรเสียอีก คลองคอคอดกระนี้จะเป็นคลองภายในที่เชื่อมต่อระหว่างสองทะเล เหมาะกับเรือที่มีขนาดเล็กและระดับนํ้าตื้น ใช้กับเรือบาส เรือฟีดเดอร์ เรือลากจูง และเรือประมงขนาดเล็กที่ว่าจ้างรถบรรทุกข้ามถนนระนอง-ชุมพรทุกปีอยู่แล้ว และสามารถเคลื่อนย้ายกองเรือขนาดเล็กและเรือดำนํ้าของราชนาวีไทยที่สามารถป้องกันท้องทะเลทั้งสอง
ด้านอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อดีของแนวทางนี้คือ มีระยะทางบนบกสั้น
สามารถเชื่อมโยงการเดินเรือขนาดกลางทั้งของพาณิชยกรรมและการ
ทหารได้เป็นอย่างดี ข้อเสียคือ เป็นช่วงที่มีแนวเขาค่อนข้างมาก ต้อง
ทำการเจาะอุโมงค์ หรือสร้างสะพานนํ้าดังกล่าว

      2. คลองไทย แนวสุราษฎร์ธานี-พังงา


       

       นำเสนอโดยมูลนิธิคลองไทย ในกองบัญชาการทหารสูงสุด เพื่อการเดินเรือขนาดเล็ก และเรือของราชนาวีไทย เป็นการเชื่อมต่อคลองเดิมขนาดต่างๆและขุดเพิ่มในบางส่วน แนวคลองเริ่มจากช่องแคบระหว่างเกาะคอเขากับเกาะพระทองด้านทะเลอันดามัน แนวคลองช่วงแรกเป็นคลองขุด อยู่ในทะเลเป็นระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร และจะขึ้นบกบริเวณบ้านคลองบางใหญ่ อำเภอตะกั่วป่า ผ่านคลองบางใหญ่ คลองสกผ่านอำเภอพนม ออกอ่าวไทยบริเวณบ้านปากกิ่ว อำเภอไชยา รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 165 กิโลเมตร ในทะเล 23 กิโลเมตร บนแผ่นดิน 142 กิโลเมตร ข้อดีคือ พื้นที่เป็นแนวราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่และการต่อเชื่อมแนวคลองเดิมทำได้ง่ายกว่า ข้อเสียคือ การเปลี่ยนคลองพื้นถิ่นเดิมเป็นคลองขนส่งสินค้า จะเปลี่ยนวิถีชีวิตและอาจมีการต่อต้านมาก

      3. คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระของวุฒิสภา      เส้นทาง 9A เส้นทางจากจังหวัดกระบี่ - ตรัง - พัทลุง - นครศรีธรรมราช เพื่อการเดินเรือขนาดกลาง และโลจิสติกส์ทางทะเล เน้นด้านพาณิชยนาวีเป็นหลัก ข้อดีคือ ตำแหน่งที่ตั้งเป็นศูนย์กลางของภาคใต้อยู่ระหว่างกลางประเทศพม่า ปลายแหลมมลายูและประเทศสิงคโปร์ พื้นที่ใต้แนวคลองทั้งหมดประชากรส่วนใหญ่เป็นไทยพุทธ หากมีการแทรกแซงจากภายนอกที่จะก่อให้เกิดปัญหาการแบ่งแยกดินแดนจะทำได้ยาก ข้อเสียคือ แนว 9A ระยะทางประมาณ 120 กม. ยาวกว่าแนวอื่นๆมีเส้นทางพาดผ่านพื้นที่เนินเขาประมาณ 10 กม. บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช แนวคลองพาดผ่านพื้นที่บางส่วนของพรุควนเคร็ง ถ้าไม่มีการจัดการที่เหมาะสมอาจจะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรก็ตามในที่สุดโครงการคลองกระก็จะทำการก่อสร้างในอนาคต เพียงรอเวลาที่เหมาะสมว่าเมื่อใดเท่านั้น โครงการนี้อาจจะเกิดจากประเทศไทยเองหากรัฐไทยมีความเข้มแข็ง หรือเกิดจากแรงกดดันของต่างชาติทั้งทางตรงหรือทางอ้อมหากรัฐไทยอ่อนแอ ทั้งนี้เพราะผลประโยชน์มหาศาลจะเกิดแก่ผู้ที่ได้ครอบครองคลองกระ ดังนั้นโครงการนี้จึงไม่เคยสูญหายจากการจับตามองของต่างชาติ ความสำคัญจะเกิดในจุดนี้ที่มีการลงทุนจากต่างชาติซึ่งต้องการประโยชน์สูงสุดของเขาเอง โจทย์คือทำอย่างไรให้สามารถควบคุมการลงทุนโครงการคลองกระให้ประเทศไทยได้ผลประโยชน์สูงสุด ทั้งทางด้านรายได้และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจสังคมการเมือง บทความนี้จึงขอเสนอแนวความคิดการสร้างโครงการคลองกระขึ้น ในขณะที่รัฐไทยยังมีความเข้มแข็ง เลือกเส้นทางที่ศึกษาอยู่ในปัจจุบัน หรือดัดแปลงเส้นทาง แม้แต่กำหนดเส้นทางใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ประเทศไทยต้องการ และองค์กรที่จะเข้ามาเขียน TOR Term of Reference ใหม่หรือทำการวิเคราะห์วิจัยก็ควรเป็นองค์กรวิชาชีพอิสระของประเทศไทย ที่มีความโอนเอียงทางการเมืองและผลประโยชน์ทางธุรกิจน้อย อาทิ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ องค์กรด้านการก่อสร้างและโลจิสติกส์ต่างๆ ฯลฯ โดยอาจรวมกลุ่มบริหารจัดการโครงการคลองกระขึ้นมาใหม่ จากวัตถุประสงค์ใหม่ อาจกำหนดโดยสภาพัฒน์ กรมโยธาธิการและผังเมือง หรือหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ต่อไป

Cr : Engineering Today July 2014

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

 
view