http://kohkhokhao.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
หน้าแรก บทความ  ข้อมูลทั่วไป ข่าวสาร อสังหาริมทรัพย์ รวมรูปภาพ เว็บบอร์ด
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ที่พัก & โรงแรม
ข่าวสาร
อสังหาริมทรัพย์
สินค้าชุมชน
ภาพจากเกาะคอเขา
แผนที่เกาะคอเขา
หนังสือพิมพ์
เว็บบอร์ด
ท่องเที่ยวเกาะคอเขา
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสิ่งแวดล้อม
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับที่ดิน
เรื่องเล่าจากพลเมือง
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

เมืองโบราณทุ่งตึก

เมืองโบราณทุ่งตึก
ประวัติความเป็นมา
    เมืองโบราณ / เหมืองทอง / ทุ่งตึก ฯลฯ

สถานที่ตั้ง บ้านทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
พิกัดภูมิศาสตร เส้นรุ้ง ๘ องศา ๓๕ ลิปดา ๒๐ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวง ๙๘ องศา ๑๖ ลิปดา ๕๒ ฟิลิป
แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขา หรือที่เรียกว่า แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก เกาะคอเขา เป็นเกาะ ขนาดเล็กยาว ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๕ กิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณ ปากแม่น้ำตะกั่วป่า มีลักษณะคล้ายสันทราย มีป่าไม้ โกงกางทางด้าน ฝั่งตะวันออก ของเกาะส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกของเกาะหันหน้าออกสู่ทะเลอันดามัน ของมหาสมุทรอินเดีย ทางด้านเหนือของเกาะมีภูเขาเตี้ย ๆ ทอดตัว ในแนวเหนือ-ใต้ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญบนเกาะคอเขาตั้ง อยู่ในบริเวณ ที่ชาวบ้าน เรียกกันว่า "ทุ่งตึก" หรือ "เหมืองทอง" เหตุที่เรียกเช่นนี้คงจะเป็น เพราะ ว่าในบริเวณนี้มีซาก อาคารโบราณสถานอยู่ ๓ แห่ง นอกจากนี้ในบริเวณนี้ยังได้ พบฐานเทวรูป เหรียญเงิน อินเดีย เศษทองคำ และผงทรายทอง ปัจจุบันโบราณ สถาน ดังกล่าวถูกทำลายไป คงเหลือ แต่เ พียงซาก ของฐานก่ออิฐ เพียงบางส่วน เท่านั้น แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขา หรือ เหมืองทอง ได้มีการสำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ โดยพบซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐขนาดยาว ๖๐ หลา กว้าง ๓๐ หลาสูงจากระดับพื้นดินประมาณ ๖ ฟุต และพบเศษภาชนะดินเผา ที่ผลิตใน สมัยราชวงศ์ถังของจีน (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓) และเครื่องแก้วของ ชาวเปอร์เซีย โดยที่ไม่ได้ดำเนินการขุดค้นในชั้นดินธรรมชาติ โบราณวัตถุ เหล่านี้จัดได้ว่า มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ จากโบราณวัตถุที่พบ เป็นจำนวนมาก แหล่ง โบราณคดีแห่งนี้ทำให้นักโบราณคดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ดร.เอช.จี ควอริทซ์ เวลส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษก็เคยมาขุดตรวจดูชั้นดินครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ และนักปราชญ์ทางโบราณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ทุ่งตึกเป็นที่ตั้งเมืองท่าโบราณซึ่งชาวอินเดีย ชาวจีน ชาวอาหรับ และชาวมลายู มาทำมาค้าขาย เพราะตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสมในการเป็นที่จอดเรือหลบคลื่นลม มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ อยู่ใกล้ทะเลหลวงขนาดใหญ่สามารถเข้าออกสะดวก อีกทั้งตั้งอยู่ตรงปากแม่น้ำตะกั่วป่าซึ่งการคมนาคมทางเรือทั้งขึ้นและล่องตามลำแม่น้ำจะต้องผ่านเสมอ
ทุ่งตึกนอกจากจะเป็นเส้นทางผ่านของเรือสินค้าหลายชนิดแล้ว ยังมีหลักฐานน่าเชื่อว่า เมื่อครั้งที่ชาวอินเดียอพยพหนีภัยลงเรือหนีมายังดินแดนทางเอเชียอาคเนย์ ได้มาขึ้นบกและตั้งหลักแหล่งที่ทุ่งตึกหรือตะกั่วป่าก่อนระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อถูกข้าศึกศัตรูตามรบกวนและโรคภัยไข้เจ็บรบกวน จึงได้อพยพเดินทางข้ามไปตั้งเมืองทางบริเวณริมฝั่งทะเลตะวันออก เพราะได้พบว่า ตลอดเส้นทางอพยพชาวอินเดียได้ก่อสร้างเทวสถานและรูปเคารพเอาไว้ อาทิ รูปปั้นพระนารายณ์ ซึ่งปรากฎในหลายแห่งจึงเป็นเครื่องแสดงถึงอารยธรรมอินเดียที่แพร่เข้าสู่ในเขตภูมิภาคนี้
ทุ่งตึกคงจะเจริญรุ่งเรืองอยู่ในสมัยศรีวิชัยในนามเมืองตะโกลาและตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยเป็นเวลานาน ส่วนสาเหตุการซบเซาลงไปนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงมาจากเกิดสงครามหรือถูกศัตรูรุกรานในตอนปลายของสมัยศรีวิชัย

ลักษณะทั่วไป
แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขามีซากอาคารโบราณสถานอยู่ ๓ แห่ง และพบ ฐานเทวรูป เหรียญ เงินอินเดีย เศษทองคำ และผงทรายทอง และโบราณสถาน ก่อด้วยอิฐขนาดยาว ๖๐ หลา กว้าง ๓๐ หลา สูงจากระดับพื้นดินประมาณ ๖ ฟุต และได้พบเศษภาชนะดินเผา ที่ผลิตในสมัยราชวงศ์ถังของจีน เครื่องแก้วของ ชาวเปอร์เซีย

หลักฐานที่พบ
๑. ประติมากรรมเทพีและโอรส ประติมากรรมชิ้นนี้ทำจากหินปูน แต่ลวดลาย ต่าง ๆ ลบเลือนมาก เทวรูปนี้มีฐานกว้าง ๖๐ เซนติเมตร ส่วนสูง ๖๕ เซนติเมตร ประติมากรรม เทพี ประทับนั่งชันพระชงฆ์ซ้ายวางพระบาทซ้ายทับบนพระบาทขวา พระหัตถ์ซ้าย โอบโอรส พระหัตถ์ขวาถือลูกกลมหรือก้อนดิน หรือธรณี โอรส ประทับนั่งบนพระชงฆ์ซ้าย เทพีโดยพระบาทลงเบื้องล่าง พระหัตถ์ขวาชูเหนือ เศียร ทั้งเทพีและโอรสมุ่นมวยผมสูง ทรงสวมกรองคอพาหุรัด ส่วนกุณฑล ทรงกลม นุ่งผ้าเว้าลงใต้พระนาภี ปรากฏ ชายผ้านุ่งท ี่ของพระบาททั้งสองข้าง
๒. ฐานเทวรูป เป็นฐานเทวรูปที่ทำจากหินปูน ตรงกลางจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ ๑๒ เซนติเมตร
๓. แท่งหินปูน เป็นแท่งหินปูนที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดกว้าง ๓๑ เซนติเมตร สูง ๕๕ เซนติเมตร แท่นนี้อาจจะเป็นที่สำหรับวางรูปเคารพก็ได้
๔. เครื่องประดับทำด้วยหิน แร่ประกอบหิน เช่น กำไล หิน จักรหิน ลูกปัดหิน
๕. เศษภาชนะดินเผา ก็จะมีภาชนะประเภทพื้นเมือง เช่น พวยการูปแบบตรง กลางป่องเป็นรูปวงแหวน เนื้อละเอียดและพวยกาสั้นและยาวแต่โค้งลง เนื้อมัก หยาบ และภาชนะดินเผาประเภทที่มาจากต่างประเทศ เป็นภาชนะดินเผา เคลือบสีน้ำตาล แบบฉาง-ชา (Shang - Sha) ในมณฑลโฮนาน (Honan) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และเครื่องมือเครื่องใช้โลหะ (สำริด - เหล็ก)

หมายเหตุ : เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๗ สำนักงานศิลปากรที่ ๑๕ จังหวัดภูเก็ต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)ได้ดำเนินการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านทุ่งตึกหรือชาวบ้านเรียกว่า "เหมืองทอง" ในพื้นที่ ๑๐๐ ไร่ บนเกาะคอเขาด้านทิศตะวันออกติดกับพื้นที่ป่าชายเลน ม.๔ ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ได้พบซากโบราณสถานขนาดเล็กจำนวน ๗ หลังตั้งเรียงรายกัน ภายในขุดพบขุดพบกระเบื้องดินเผามุงหลังคาจำนวนมาก บริเวณนอกพบบ่อน้ำโบราณ ๑ บ่อ คาดว่าเป็บส่วนหนึ่งของชุมชนโบราณชื่อ "ตักโกลา" ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญในจดหมายเหตุภูมิศาสตร์ปโตเลมีและคัมภีร์มหานิเทศ ราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๑๖ ซึ่งเคยเป็นเมืองท่าการค้าสมัยโบราณอายุกว่า ๑,๓๐๐ ปี
สำหรับโบราณวัตถุที่ขุดพบจากโบราณสถานทั้ง ๗ หลัง ประกอบด้วยดินเผาพื้นเมือง เป็นเนื้อดินประดับด้วยลวดลายต่างๆ เช่น ลายประดับรูปทรงเรขาคณิตรูปสี่เหลี่ยม รูปหยักแบบฟันปลา ลายตาราง ฯลฯ นอกจากนั้นยังพบพวยกา ภาชนะใส่น้ำโบราณ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นกาน้ำรูปทรงต่างๆในปัจจุบัน ภาชนะดินเผาของจีนสมัยราชวงศ์ถัง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ หรือเมื่อ ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งนักประวัติศาสตร์ระบุว่าเป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นี้แล้วมีการค้าขายส่งออกเครื่องถ้วยจีนกับต่าง ประเทศ              การล่มสลายของชุมชนโบราณแห่งนี้ได้มีการเดากันไปต่างๆนานาว่ามาจากหลายสาเหตุจนมาถึงเมื่อ วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ ได้เกิดเหตุการณ์ คลื่นสึนามิ ถล่มชายฝั่งทะเลอันดามันได้ทำลายสิ่งก่อสร้างบริเวณริมหาดพังไปในชั่วพริบตาจึงน่าจะเป็นสาเหตุที่เป็น
ไปได้มากที่สุดถึงการล่มสลาย ประกอบกับหลักฐานที่ค้นพบได้กระจัดกระจายไปทั่วพื้นที่และในสมัยก่อนโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว
มีมากกว่าช่วงปัจจุบัน ดังนั้นการศึกษาชุมชนโบราณแห่งนี้อย่างจริงจังอาจจะสามารถคาดเดาโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่เป็น
สาเหตุของการเกิดคลื่นสึนามิก็อาจเป็นได้ หากเป็นเช่นนั้นจริงความเจริญด้านการท่องเที่ยวของภูมิภาคแห่งนี้คงกลับมาเหมือนเดิมได้
รวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน

ความคิดเห็น

  1. 1
    สันติ
    สันติ kamikaze.4@hotmail.com 03/09/2010 07:32

    อยากไปเที่ยวเเล้วถ่ายรูป....มาก
    ไม่ไม่ถูก

  2. 2
    สันติ
    สันติ kamikaze.4@hotmail.com 03/09/2010 07:33

    ไปยังไง.....ไปไม่ถูก
    ขับมอไซ
    ไปได้ป่าว......จากท้ายเหมือง

  3. 3
    25/05/2012 22:57

    มาตามแผนที่ได้เลยครับ

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

 
view