http://kohkhokhao.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
หน้าแรก บทความ  ข้อมูลทั่วไป ข่าวสาร อสังหาริมทรัพย์ รวมรูปภาพ เว็บบอร์ด
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ที่พัก & โรงแรม
ข่าวสาร
อสังหาริมทรัพย์
สินค้าชุมชน
ภาพจากเกาะคอเขา
แผนที่เกาะคอเขา
หนังสือพิมพ์
เว็บบอร์ด
ท่องเที่ยวเกาะคอเขา
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสิ่งแวดล้อม
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับที่ดิน
เรื่องเล่าจากพลเมือง
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

เล็งสร้างสนามบินพังงาดึงระดับวีไอพีเที่ยวเกาะคอเขา

อธิบดีกรมขนส่งทางอากาศพยากรณ์ปี 51 ธุรกิจการบินในประเทศโตไม่มากอยู่ที่ 7-8% หรือเต็มที่ไม่เกิน 12% ขณะที่โลว์คอสต์ก็ทรงตัวไม่น่าจะมีรายใหม่เกิด เหตุน้ำมันเป็นต้นเหตุสำคัญทำธุรกิจการบินซบ อีกทั้งยังมีต้นทุนสูง เผยแผนงานปีหน้าเตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาสร้างสนามบินใหม่ 2 แห่งคือ พังงาและเบตง ตั้งเป้าดึงนักท่องเที่ยวระดับวีไอพีเที่ยวเกาะคอเขา

นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ถึงทิศทางการเติบโตของธุรกิจการบินของไทยในปี 2551 ว่า ธุรกิจการบินภายในประเทศคงจะไม่โตฟู่ฟ่าเหมือนช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาแล้ว โดยอาจจะโตประมาณ 7-8% หรือถ้าโตเร็วหน่อยก็อาจจะประมาณ 10-12% ในขณะที่ปีก่อนอัตราการเติบโตค่อนข้างสูงในระดับ 15-20%

“ธุรกิจสายการบินโลว์คอสต์ ก็จะเริ่มนิ่งและจะนิ่งอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะไม่มีอะไรหวือหวาแล้ว เพราะว่าสาเหตุใหญ่คือ 1.เรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นภาระหนักสำหรับสายการบินทั่วๆ ไป 2. สายการบิน Operating Cost ค่อนข้างสูง นอกเหนือจากเรื่องน้ำมันแล้ว มีเรื่องบำรุงรักษา ซึ่งมีมาตรฐานการบิน และต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล ต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ตามมาตรฐาน ซึ่งล้วนแต่ต้องมีค่าใช้จ่าย เมื่อมีรายจ่ายที่สูง แน่นอนอัตราค่าโดยสารก็ต้องปรับตัวสูงขึ้น พอราคาปรับตัวสูงขึ้น ค่าโดยสาร สูงผู้ใช้บริการก็จะลดลงเช่นกัน ดังนั้นคิดว่าทิศทางของสายการบินในประเทศไทยจะชะลอ ตัวลง” นายชัยศักดิ์ กล่าว

สำหรับในเรื่องนโยบายนั้น รัฐบาลมีนโย-บายในเรื่องการบินโดยส่งเสริมให้มีการเปิดเสรี และส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมทางด้านอากาศยาน โดยส่งเสริมให้มีการผลิต ส่งเสริมให้มีการสร้างอากาศยานต้นแบบ การสร้างชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องยนต์ ซึ่งขณะนี้กฎหมายก็ออกมาแล้ว ผ่านสภาฯ วาระที่ 3 แล้ว ก็จะเป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจด้านนี้เกิดขึ้นมาได้ เมื่อธุรกิจเกิดก็จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้อีกมาก เนื่องจากประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศ เพื่อนบ้านของเรา ก็จะมีบริษัทที่มีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบินค่อยข้างเยอะ ในขณะที่บ้านเรายังมีน้อยอยู่ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลเองพยายามส่งเสริมให้มีการสร้างศูนย์ซ่อมเครื่องบินขึ้นที่ประเทศไทย

“มูลค่าของการซ่อมบำรุงอากาศยานในภูมิภาคนี้มีมหาศาล คำว่าศูนย์ซ่อมเครื่องบิน อย่าไปมองว่ามันมีแค่ศูนย์เดียว หรือ 2 ศูนย์ มองถึงแค่เครื่องบินโบอิ้ง และแอร์บัส ซึ่งจริงๆ แล้วมีเครื่องขนาดเล็กอยู่อีกมากมาย ถ้าสามารถดึงบริษัทเหล่านี้เข้ามาที่ประเทศไทยได้ โดยอาจจะใช้สนามบินดอนเมืองเป็นศูนย์ซ่อมก็สามารถทำได้ ซึ่งจะเป็นการนำรายได้เข้าประเทศอีกมหาศาล นอกเหนือจากนั้นยังช่วยสร้างงานให้กับประชาชนคนไทยด้วย รวมถึงสถาบันที่ผลิตบุคลากรด้านการบินทั้งหลาย ที่ผลิตนักบิน ผลิตช่าง ก็สามารถที่จะสร้างบุคลา-กรด้านนี้ขึ้นมาได้ ฉะนั้นนโยบายของกรมการขนส่งทางอากาศก็ยังคงเดิม คือ พยายามที่จะเปิดเสรีการบิน และส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรม การบินขึ้นในประเทศ” นายชัยศักดิ์ กล่าว

นายชัยศักดิ์ กล่าวถึงแผนงานและโครง-การ ที่จะดำเนินการในปี 2551 ว่า กรมการขนส่งทางอากาศ ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2551 จำนวนประมาณ 800 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานแผนโครงการปี 2551 ซึ่งประกอบด้วย

1.ศึกษาการก่อสร้างสนามบินเบตง จังหวัดยะลา 2.ศึกษาการก่อสร้างสนามบินจังหวัดพังงา ซึ่งสนามบินเบตงและพังงานั้น เป็นการศึกษาเพื่อดำเนินการก่อสร้างเป็นสนามบินใหม่ โดยสนามบินพังงา จะอยู่บริเวณ เกาะคอเขา ซึ่งเกาะดังกล่าวเดิมทีก่อนที่จะเกิด สึนามิ ขอ.ได้ไปดูแล้วและมีแผนที่จะก่อสร้างแล้ว เนื่องจาก จ.พังงา นักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยว และค้างคืนส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวระดับวีไอพี ประเภทนอนโรงแรมคืนละ 10,000 บาท ซึ่งต่างจากนักท่องเที่ยวที่ จ.ภูเก็ต จะมีความหลากหลายกว่า และเกาะคอเขาก็มีพื้นที่เพียงพอที่จะสร้างสนามบินได้ เพราะเป็นพื้นที่ราบความยาวประมาณ 2,000 กว่าเมตร ซึ่งมีคนบอกว่าเคยเป็นสนามบินเก่าของญี่ปุ่นสมัยสงครามโลก พื้นที่มีการบดอัดค่อนข้างแน่น และ มีหญ้าขึ้น โดยต้นไม้ใหญ่ไม่มี

ส่วนสนามบินเบตงนั้นเป็นความต้องการ ของทางจังหวัดอยู่ ที่ต้องการให้มีสนามบิน แต่เมื่อลงพื้นที่ไปดูแล้วไม่สามารถสร้างสนามบินใหญ่ได้ เพราะรอบพื้นที่เป็นภูเขา ฉะนั้นสนามบินจะสร้างได้ประมาณ 1,500 เมตร และ เครื่องบินจะลงเฉพาะเครื่องบินเล็กๆ ไม่ใช่เครื่องบินขนาดใหญ่ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาเช่นกัน ทั้งนี้สนามบินทั้ง 2 แห่งดังกล่าวน่าจะสามารถก่อสร้างได้ประมาณปี 2552-2553

3.สนามบินจังหวัดน่าน โดยจะทำการซื้อพื้นที่เพิ่มเพื่อขยายสนามบินให้กว้างและยาวขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับเครื่องขนาดใหญ่ได้ 4.สนามบินจังหวัดนราธิวาส โดยปี 2551 นี้ มีแผนที่จะขยายทางวิ่งเพิ่มอีกประมาณ 500 เมตร เพื่อที่จะสามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ เนื่องจากในช่วงเทศกาลฮัจญ์ของศาสนาอิสลามจะมีผู้โดยสารใช้บริการมาก ซึ่งหากสามารถนำเครื่องบินลงได้เลย โดยที่ไม่ต้องไปลงที่สนามบินหาดใหญ่ 5.การบำรุงสนามบินอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมฯ และ 6.การจัดซื้อ จัดหาอุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัย และอุปกรณ์เกี่ยวกับการอำนวยความ สะดวกให้กับผู้โดยสาร และเครื่องบิน

ส่วนกรณีที่หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี พยายามผลักดันให้เกิดสนามบินแห่งที่ 2 ที่เกาะสมุยนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนนั้น นายชัยศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันที่เกาะสมุยมีสนามบินของสายการบินบางกอกแอร์เวย์สอยู่แล้ว แต่ชาวเกาะสมุยและนักธุรกิจมองว่า บางกอกแอร์เวย์สเก็บค่าโดยสารและค่าบริการ ต่างๆ ในราคาแพงมาก ประกอบกับการที่บางกอกแอร์เวย์ยังใช้วิธีแบบเบ็ดเสร็จ ทำเป็นแบบ แพ็กเกจ โดยการนั่งเครื่องบินของเขาไปลงที่เกาะสมุย แล้วต้องพักโรงแรมของเขาด้วย ทำให้ ธุรกิจของคนอื่นก็ไม่ได้ประโยชน์จากนักท่อง-เที่ยว โรงแรมก็ไม่มีคนไปพัก นักธุรกิจและชาวบ้านที่สมุยก็เลยร้องเรียนมายังกระทรวงคมนาคม

ในที่สุดกระทรวงคมนาคมก็ให้กรมการขนส่งทางอากาศลองไปศึกษาดู จึงได้ศึกษาว่าถ้าสร้างสนามบินขึ้นมาอีก 1 แห่ง จะเป็นอย่างไร และได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมดูแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมว่าจะมีผลกระทบอย่างไรไหม เพราะเกาะสมุยก็ไม่ได้ใหญ่นัก ถ้ามี 2 สนามบิน และบินไปทั้งหัวเกาะ และท้ายเกาะก็ต้อง ดูว่านักท่องเที่ยวจะอยู่ได้ไหม ซึ่งก็มีผลเสียเช่น กัน ก็ต้องดูความเหมาะสมว่าอยู่ตรงไหน
ที่มา : นสพ.สยามธุรกิจ(ฉบับที่ 859 ประจำวันที่ 5-1-2008 ถึง 8-1-2008)

Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

 
view