http://kohkhokhao.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
หน้าแรก บทความ  ข้อมูลทั่วไป ข่าวสาร อสังหาริมทรัพย์ รวมรูปภาพ เว็บบอร์ด
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ที่พัก & โรงแรม
ข่าวสาร
อสังหาริมทรัพย์
สินค้าชุมชน
ภาพจากเกาะคอเขา
แผนที่เกาะคอเขา
หนังสือพิมพ์
เว็บบอร์ด
ท่องเที่ยวเกาะคอเขา
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสิ่งแวดล้อม
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับที่ดิน
เรื่องเล่าจากพลเมือง
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

ส่วนใหญ่เห็นด้วยพัฒนาอ่าวภูเก็ต

ส่วนใหญ่เห็นด้วยพัฒนาอ่าวภูเก็ต
นายวรสิทธิ์ โรจนพานิช ผอ. ผอ.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.) พร้อมด้วย นายรัชทิน ศยามานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อพท.และคณะ ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเสนอประกาศเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บริเวณอ่าวภูเก็ตผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดภูเก็ต

 ส่วนใหญ่เห็นด้วย กับโครงการพัฒนาพื้นที่อ่าวภูเก็ตแต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการศึกษาประโยชน์ของพื้นที่ และไม่กระทบสิ่งแวดล้อมและวิถีชุมชน
เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน นายวรสิทธิ์ โรจนพานิช ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) พร้อมด้วย นายรัชทิน ศยามานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อพท.และคณะ ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการเสนอประกาศเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบริเวณอ่าวภูเก็ต และพื้นที่เชื่อมโยง จังหวัดภูเก็ต โดยมีตัวแทนจากหอการค้า จังหวัดภูเก็ต ตัวแทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ภูเก็ต ตัวแทนประชาคมพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเมืองภูเก็ต ตัวแทนสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต นาง เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ตัวแทนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวฉลองเข้าร่วม ณ โรงแรมภูเก็ต เมอร์ลิน จ.ภูเก็ต
นายรัชทินชี้แจงรายละเอียดโครงการว่า โครงการพัฒนาพื้นที่อ่าวภูเก็ตได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 โดย อบจ.ภูเก็ต ได้เสนอโครงการขุดลอกหน้าอ่าวและพัฒนาที่ดินบริเวณอ่าวภูเก็ตเพื่อสนับสนุนและพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองหลัก และได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อมาได้ผ่านความเห็นชอบจากกรมเจ้าท่าและกรมประมง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ทำเรื่องขออนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรีแต่โครงการถูกชะลอไว้ นอกจากนั้น ในปี 2546 กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่อ่าว    ภูเก็ต ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นและรูปแบบการลงทุน
สรุปว่าเป็นพื้นที่เหมาะสมที่จะพัฒนาอ่าวภูเก็ตในเนื้อที่รวม 2,200 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่โครงการเป็น 2 เกาะ คือ เกาะ MICE จะประกอบไปด้วย ศูนย์ประชุมสัมมนาและศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ ภัตราคาร ร้านอาหาร โรงแรม      รีสอร์ต ย่านธุรกิจการค้า ฯลฯ บนพื้นที่ และเกาะ MARINA ที่จะประกอบไปด้วย ท่าเทียบเรือยอชต์ ท่าเทียบเรือเดินสมุทร อู่ซ่อมเรือ โรงแรม ที่พัก อพาร์ตเมนต์ ฯลฯ เกาะ MICE จากการศึกษาในขณะนั้นในเงินลงทุน 37,000 ล้านบาท เกาะ MARINA ใช้เงินลงทุน 26,500 ล้านบาท รวมทั้งสองเกาะมีจะต้องใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 63,500 ล้านบาท และภาครัฐเข้ามาสนับสนุนเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 4,900 ล้านบาท
ในขณะที่ นางเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ไม่ปฏิเสธที่จะมีการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แต่ควรจะเปิดเวทีให้กว้างกว่านี้ เพราะจากที่ได้มีการนำเสนอภายหลัง จากที่มีความเห็นชอบให้เป็นเขตพิเศษฯ แล้ว ก็จะมีการจัดทำโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ และคนภูเก็ตควรที่จะได้รับรู้อย่างกว้างขวาง เพราะในครั้งนี้มีผู้ที่ทราบเรื่องน้อยมาก ดูเหมือนว่าจะเร่งรีบเกินไป ฉะนั้นหากต้องการให้โครงการดำเนินการต่อไปได้ ก็ควรที่จะเปิดเวทีชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนชาวภูเก็ตให้มากกว่านี้ แล้วจึงค่อยดำเนินการในขั้นต่อไป เพราะที่ผ่านมาภาพการทำงานของ อพท.นั้นก็มีปัญหาอยู่แล้ว
ด้าน นายบัญญัติ จริยะเลอพงษ์ จากสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า คนภูเก็ตไม่ได้ปฏิเสธการที่จะให้โครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ตเป็นพื้นที่พิเศษ เพื่อการพัฒนาที่ยังยืน แต่อยากจะให้ทางอพท.ทำความเข้าใจกับประชาชนชาวภูเก็ตให้กว้างกว่านี้ ว่าการเข้ามาของ อพท.เข้ามาทำอะไรบ้าง และการที่จะทำให้พื้นที่อ่าวภูเก็ตเป็นพื้นที่พิเศษฯ คนภูเก็ตจะได้อะไรบ้างและมีข้อเสียอะไรบ้าง เพราะหากไม่ประชาชนไม่เข้าใจอาจจะมีการต่อต้านโครงการได้ เหมือนกับโครงการหลายๆโครงการที่เข้ามาภูเก็ตแล้ว ไม่ได้สร้างความเข้าใจกับประชาชนถูกต่อต้านจนต้องยกเลิกโครงการไปในที่สุด
ด้านนายมิตร สิงห์สัจกุล นักธุรกิจในภูเก็ต กล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วด้วยที่อพท.เข้ามาดำเนินการโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต แต่อยากจะให้ดำเนินการเป็นพื้นที่พิเศษทั่วทั้งเกาะภูเก็ต
อย่างไรก็ตาม จากการแสดงความคิดเห็นของตัวแทนภาคส่วนต่างๆ สรุปได้ว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยในการประกาศเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บริเวณอ่าวภูเก็ต และพื้นที่เชื่อมโยง จังหวัดภูเก็ต แต่ควรจะเป็นทั้งจังหวัดไม่ใช่เพียงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และจะต้องศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนทั้งเรื่องของวิถีชีวิต การเมืองการปกครอง สาธารณูปโภคสาธารณูป- การต่างๆ การคมนาคมขนส่ง และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจะต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจให้กับประชาชนได้รับทราบมากกว่านี้
ทั้งนี้ นายวรสิทธิ์กล่าวว่าการรับฟังความเห็นครั้งนี้เป็นเพียงก้าวแรก และยังจะต้องมีครั้งต่อไปอีก ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นของท้องถิ่น 3 แห่งคือเทศบาลตำบลรัษฎา เทศบาลตำบลวิชิต และเทศบาลนครภูเก็ต และภาคราชการ ต่างเห็นด้วย ส่วนของนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกอบจ.ภูเก็ต เห็นด้วย แต่ให้ประกาศทั้งจังหวัด ตลอดจนต้องจัดการเรื่องของระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการต่างๆให้พร้อม เพราะปัจจุบันมีปัญหาค่อนข้างมากอยู่แล้ว ทั้งนี้ หากคนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยก็คงต้องยกเลิกแต่ที่นำเสนอเป็นเพียงตุ๊กตาก็คงต้องมีการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมมากกว่านี้ เพราะอาจจะเร็วเกินไปอย่างที่หลายฝ่ายนำเสนอ และหลังจากนี้จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในภูเก็ตทุกภาคส่วนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตเกิดความมั่นใจในการเข้ามาดำเนินการโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ตของอพท.
นายรัชทินกล่าวว่า โครงการนี้จะเกิดประโยชน์กับชาวภูเก็ตอย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อผ่านขั้นตอนตรงนี้ไปแล้วก็จะต้องมีการศึกษารายละเอียดที่ชัดเจน โดยเหตุที่ประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อให้สามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และในการลงทุนของภาคเอกชนที่จะเกิดขึ้นนั้นก็จะใช้ พรบ.ร่วมทุน ซึ่งปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วยและจะเร็วว่าปกติ ทั้งเรื่องน้ำ ขยะ การคมนาคมยืนยันว่าจะต้องดีกว่าเดิม แน่นอน

ที่มา www.siangtai.com 30 พ.ค 51

Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

 
view