http://kohkhokhao.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
หน้าแรก บทความ  ข้อมูลทั่วไป ข่าวสาร อสังหาริมทรัพย์ รวมรูปภาพ เว็บบอร์ด
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ที่พัก & โรงแรม
ข่าวสาร
อสังหาริมทรัพย์
สินค้าชุมชน
ภาพจากเกาะคอเขา
แผนที่เกาะคอเขา
หนังสือพิมพ์
เว็บบอร์ด
ท่องเที่ยวเกาะคอเขา
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสิ่งแวดล้อม
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับที่ดิน
เรื่องเล่าจากพลเมือง
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

100 ปี ร.6 เสด็จฯ เกาะคอเขา แหล่งลูกปัดโบราณทุ่งตึก

100 ปี ร.6 เสด็จฯ เกาะคอเขา แหล่งลูกปัดโบราณทุ่งตึก
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน เรื่อง ปริศนาแห่งลูกปัด"ตั้งแต่ปลายปีก่อน ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมล้นหลาม เมื่อวันที่ 24-25 ม.ค. ที่ผ่านมาจิระนันท์ พิตรปรีชาในฐานะที่ปรึกษาอาสาสมัครของ สพร. ได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ภูเก็ต-พังงา-กระบี่เยี่ยมชมแหล่งลูกปัดโบราณทั้งในพื้นที่ที่มีการขุดค้นพบและที่จัดแสดงไว้ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง จ.ภูเก็ต ,พิพิธภัณฑ์บ้านคลองท่อม(ใกล้กับแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด) อ.คลองท่อม จ.กระบี่เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบถึงแก่น
แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึกหรือเหมืองทอง ที่เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่สร้างความกระตือรือร้นให้กับคณะเดินทาง โดยมี ร้อยเอกบุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ15 ภูเก็ต และนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช นักค้นคว้าเรื่องลูกปัดจากสุธีรัตนามูลนิธิ เป็นผู้นำชม นอกจากความน่าสนใจในแง่แหล่งโบราณคดีที่ปรากฏหลักฐานความเป็นเมืองท่าและชุมชนโบราณอายุกว่า 1,300 ปี บ่งชี้รอยต่อทางอารยธรรมระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกแล้ว แหล่งโบราณคดีบนเกาะคอเขาแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมื่อ ร.ศ.128 (พ.ศ.2452) หรือเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา โดยทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเสด็จฯ ประพาสปักษ์ใต้ ร.ศ.128
ระหว่างย่ำเท้าไปบนพรมใบไม้แห้งกลางป่าโปร่ง คณะเดินทางจึงได้พบหลักฐานที่ถูกระบุไว้ในจดหมายเหตุฯ นั้น โดยเฉพาะแผ่นหินลูกกลม ตรงกลางเจาะเป็นรูสี่เหลี่ยม ร.อ.บุญยฤทธิ์ เล่าว่ารัชกาลที่ 6 ทรงบันทึกไว้ว่าทรงให้คนขุดดินลงไปพบแผ่นอิฐโต ซึ่งอาจเป็นแผ่นเดียวกับที่พวกเราล้อมวงพิจารณากันอยู่ก็เป็นได้"เป็นไปได้ว่าแผ่นหินนี้อาจทำเป็นเดือยไว้ให้เสาไม้ปักลงไปคือเป็นฐานเสาอาคาร เพราะเราพบกระเบื้องมุงหลังคามากมายตามชั้นดิน เป็นกระเบื้องขอและกระเบื้องดินเผาเนื้อแกร่ง ไม่ไกลจากกลุ่มเทวสถาน"ดังกล่าวสำหรับการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ.2546 พบกลุ่มเทวสถานก่อด้วยอิฐ 8 แห่งร.อ.บุญยฤทธิ์ อธิบายว่าเป็นการค้นพบเทวสถานก่อด้วยอิฐที่เก่าแก่ที่สุดในแถบชายฝั่งอันดามันของไทย บริเวณใกล้กันยังปรากฏฐานเทวรูป โดยกรมศิลปากรได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าเคยพบเทวรูปพระคเณศ ทว่าสูญหายไปนานแล้ว นอกจากนี้ยังพบฐานหินสำหรับยึดเสาไม้อาคาร กระเบื้องมุงหลังคาประเภทกระเบื้องดินเผาเนื้อแกร่ง และกระเบื้องขอ เศษลูกปัด เศษภาชนะดินเผาที่ผลิตในสมัยราชวงศ์ถังของจีน (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13) เศษเครื่องแก้วจากเปอร์เซีย เครื่องแก้วซีเรีย เหรียญเงินจากอินเดีย เศษทองคำและผงทรายทองอันเป็นที่มาของชื่อ "เหมืองทอง"อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้แหล่งโบราณคดีดังกล่าวได้ถูกขุดค้นทำลายและลักลอบนำโบราณวัตถุออกจากพื้นที่ไปเป็นจำนวนมากในแง่วิชาการ การค้นพบดังกล่าวบ่งชี้ว่าเกาะคอเขาเคยมีสถานะเป็นเมืองท่าที่มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนภายนอกอย่างคึกคัก ไม่ต่ำกว่า 1,300 ปีมาแล้วโดยประเมินอายุจากโบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่พบลูกปัดหลากแบบหลายที่มาตลอดจนเหรียญตราโบราณมากมาย จึงเป็นโบราณวัตถุล้ำค่าจากแหล่งโบราณคดีที่จะช่วยไขปริศนาด้านประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีและการติดต่อสัมพันธ์ของผู้คนนานาชาติในสมัยก่อนให้กระจ่างชัดขึ้น"เมืองท่านี้เป็นที่ตั้งชุมชนขนาดใหญ่ เราพบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์จำพวกกองถ่าน เศษขี้เถ้าจำนวนมาก พวกเขาได้สร้างเทวสถานตามความเชื่อของตัวเองมีทั้งพุทธและพราหมณ์ เพราะมีผู้คนหลากหลายทั้งอินเดีย เปอร์เซีย ตะวันออกกลาง จีน อยู่รวมกัน ที่นี่จึงน่าสนใจในเรื่องความหลากหลายของผู้คนและความเชื่อ" ร.อ.บุญยฤทธิ์ กล่าวทิ้งท้ายนักวิชาการและผู้สนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ ผ่านลูกปัดสามารถเข้าชมนิทรรศการหมุนเวียน ปริศนาแห่งลูกปัด” ที่อาคารนิทรรศการหมุนเวียน สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 28 มิ.ย. 2552 ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามโทร.02-225-2777 หรือ www.ndmi.or.th

Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

 
view