สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน เรื่อง “ปริศนาแห่งลูกปัด"ตั้งแต่ปลายปีก่อน ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมล้นหลาม เมื่อวันที่ 24-25 ม.ค. ที่ผ่านมาจิระนันท์ พิตรปรีชาในฐานะที่ปรึกษาอาสาสมัครของ สพร. ได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ภูเก็ต-พังงา-กระบี่เยี่ยมชมแหล่งลูกปัดโบราณทั้งในพื้นที่ที่มีการขุดค้นพบและที่จัดแสดงไว้ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง จ.ภูเก็ต ,พิพิธภัณฑ์บ้านคลองท่อม(ใกล้กับแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด) อ.คลองท่อม จ.กระบี่เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบถึงแก่น
แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึกหรือเหมืองทอง ที่เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่สร้างความกระตือรือร้นให้กับคณะเดินทาง โดยมี ร้อยเอกบุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ15 ภูเก็ต และนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช นักค้นคว้าเรื่องลูกปัดจากสุธีรัตนามูลนิธิ เป็นผู้นำชม นอกจากความน่าสนใจในแง่แหล่งโบราณคดีที่ปรากฏหลักฐานความเป็นเมืองท่าและชุมชนโบราณอายุกว่า 1,300 ปี บ่งชี้รอยต่อทางอารยธรรมระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกแล้ว แหล่งโบราณคดีบนเกาะคอเขาแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมื่อ ร.ศ.128 (พ.ศ.2452) หรือเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา โดยทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเสด็จฯ ประพาสปักษ์ใต้ ร.ศ.128
ระหว่างย่ำเท้าไปบนพรมใบไม้แห้งกลางป่าโปร่ง คณะเดินทางจึงได้พบหลักฐานที่ถูกระบุไว้ในจดหมายเหตุฯ นั้น โดยเฉพาะแผ่นหินลูกกลม ตรงกลางเจาะเป็นรูสี่เหลี่ยม ร.อ.บุญยฤทธิ์ เล่าว่ารัชกาลที่ 6 ทรงบันทึกไว้ว่าทรงให้คนขุดดินลงไปพบแผ่นอิฐโต ซึ่งอาจเป็นแผ่นเดียวกับที่พวกเราล้อมวงพิจารณากันอยู่ก็เป็นได้"เป็นไปได้ว่าแผ่นหินนี้อาจทำเป็นเดือยไว้ให้เสาไม้ปักลงไปคือเป็นฐานเสาอาคาร เพราะเราพบกระเบื้องมุงหลังคามากมายตามชั้นดิน เป็นกระเบื้องขอและกระเบื้องดินเผาเนื้อแกร่ง ไม่ไกลจากกลุ่มเทวสถาน"ดังกล่าวสำหรับการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ.2546 พบกลุ่มเทวสถานก่อด้วยอิฐ 8 แห่งร.อ.บุญยฤทธิ์ อธิบายว่าเป็นการค้นพบเทวสถานก่อด้วยอิฐที่เก่าแก่ที่สุดในแถบชายฝั่งอันดามันของไทย บริเวณใกล้กันยังปรากฏฐานเทวรูป โดยกรมศิลปากรได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าเคยพบเทวรูปพระคเณศ ทว่าสูญหายไปนานแล้ว นอกจากนี้ยังพบฐานหินสำหรับยึดเสาไม้อาคาร กระเบื้องมุงหลังคาประเภทกระเบื้องดินเผาเนื้อแกร่ง และกระเบื้องขอ เศษลูกปัด เศษภาชนะดินเผาที่ผลิตในสมัยราชวงศ์ถังของจีน (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13) เศษเครื่องแก้วจากเปอร์เซีย เครื่องแก้วซีเรีย เหรียญเงินจากอินเดีย เศษทองคำและผงทรายทองอันเป็นที่มาของชื่อ "เหมืองทอง"อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้แหล่งโบราณคดีดังกล่าวได้ถูกขุดค้นทำลายและลักลอบนำโบราณวัตถุออกจากพื้นที่ไปเป็นจำนวนมากในแง่วิชาการ การค้นพบดังกล่าวบ่งชี้ว่าเกาะคอเขาเคยมีสถานะเป็นเมืองท่าที่มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนภายนอกอย่างคึกคัก ไม่ต่ำกว่า 1,300 ปีมาแล้วโดยประเมินอายุจากโบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่พบลูกปัดหลากแบบหลายที่มาตลอดจนเหรียญตราโบราณมากมาย จึงเป็นโบราณวัตถุล้ำค่าจากแหล่งโบราณคดีที่จะช่วยไขปริศนาด้านประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีและการติดต่อสัมพันธ์ของผู้คนนานาชาติในสมัยก่อนให้กระจ่างชัดขึ้น"เมืองท่านี้เป็นที่ตั้งชุมชนขนาดใหญ่ เราพบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์จำพวกกองถ่าน เศษขี้เถ้าจำนวนมาก พวกเขาได้สร้างเทวสถานตามความเชื่อของตัวเองมีทั้งพุทธและพราหมณ์ เพราะมีผู้คนหลากหลายทั้งอินเดีย เปอร์เซีย ตะวันออกกลาง จีน อยู่รวมกัน ที่นี่จึงน่าสนใจในเรื่องความหลากหลายของผู้คนและความเชื่อ" ร.อ.บุญยฤทธิ์ กล่าวทิ้งท้ายนักวิชาการและผู้สนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ ผ่านลูกปัดสามารถเข้าชมนิทรรศการหมุนเวียน “ปริศนาแห่งลูกปัด” ที่อาคารนิทรรศการหมุนเวียน สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 28 มิ.ย. 2552 ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามโทร.02-225-2777 หรือ www.ndmi.or.th
แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึกหรือเหมืองทอง ที่เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่สร้างความกระตือรือร้นให้กับคณะเดินทาง โดยมี ร้อยเอกบุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ15 ภูเก็ต และนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช นักค้นคว้าเรื่องลูกปัดจากสุธีรัตนามูลนิธิ เป็นผู้นำชม นอกจากความน่าสนใจในแง่แหล่งโบราณคดีที่ปรากฏหลักฐานความเป็นเมืองท่าและชุมชนโบราณอายุกว่า 1,300 ปี บ่งชี้รอยต่อทางอารยธรรมระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกแล้ว แหล่งโบราณคดีบนเกาะคอเขาแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมื่อ ร.ศ.128 (พ.ศ.2452) หรือเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา โดยทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเสด็จฯ ประพาสปักษ์ใต้ ร.ศ.128
ระหว่างย่ำเท้าไปบนพรมใบไม้แห้งกลางป่าโปร่ง คณะเดินทางจึงได้พบหลักฐานที่ถูกระบุไว้ในจดหมายเหตุฯ นั้น โดยเฉพาะแผ่นหินลูกกลม ตรงกลางเจาะเป็นรูสี่เหลี่ยม ร.อ.บุญยฤทธิ์ เล่าว่ารัชกาลที่ 6 ทรงบันทึกไว้ว่าทรงให้คนขุดดินลงไปพบแผ่นอิฐโต ซึ่งอาจเป็นแผ่นเดียวกับที่พวกเราล้อมวงพิจารณากันอยู่ก็เป็นได้"เป็นไปได้ว่าแผ่นหินนี้อาจทำเป็นเดือยไว้ให้เสาไม้ปักลงไปคือเป็นฐานเสาอาคาร เพราะเราพบกระเบื้องมุงหลังคามากมายตามชั้นดิน เป็นกระเบื้องขอและกระเบื้องดินเผาเนื้อแกร่ง ไม่ไกลจากกลุ่มเทวสถาน"ดังกล่าวสำหรับการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ.2546 พบกลุ่มเทวสถานก่อด้วยอิฐ 8 แห่งร.อ.บุญยฤทธิ์ อธิบายว่าเป็นการค้นพบเทวสถานก่อด้วยอิฐที่เก่าแก่ที่สุดในแถบชายฝั่งอันดามันของไทย บริเวณใกล้กันยังปรากฏฐานเทวรูป โดยกรมศิลปากรได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าเคยพบเทวรูปพระคเณศ ทว่าสูญหายไปนานแล้ว นอกจากนี้ยังพบฐานหินสำหรับยึดเสาไม้อาคาร กระเบื้องมุงหลังคาประเภทกระเบื้องดินเผาเนื้อแกร่ง และกระเบื้องขอ เศษลูกปัด เศษภาชนะดินเผาที่ผลิตในสมัยราชวงศ์ถังของจีน (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13) เศษเครื่องแก้วจากเปอร์เซีย เครื่องแก้วซีเรีย เหรียญเงินจากอินเดีย เศษทองคำและผงทรายทองอันเป็นที่มาของชื่อ "เหมืองทอง"อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้แหล่งโบราณคดีดังกล่าวได้ถูกขุดค้นทำลายและลักลอบนำโบราณวัตถุออกจากพื้นที่ไปเป็นจำนวนมากในแง่วิชาการ การค้นพบดังกล่าวบ่งชี้ว่าเกาะคอเขาเคยมีสถานะเป็นเมืองท่าที่มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนภายนอกอย่างคึกคัก ไม่ต่ำกว่า 1,300 ปีมาแล้วโดยประเมินอายุจากโบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่พบลูกปัดหลากแบบหลายที่มาตลอดจนเหรียญตราโบราณมากมาย จึงเป็นโบราณวัตถุล้ำค่าจากแหล่งโบราณคดีที่จะช่วยไขปริศนาด้านประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีและการติดต่อสัมพันธ์ของผู้คนนานาชาติในสมัยก่อนให้กระจ่างชัดขึ้น"เมืองท่านี้เป็นที่ตั้งชุมชนขนาดใหญ่ เราพบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์จำพวกกองถ่าน เศษขี้เถ้าจำนวนมาก พวกเขาได้สร้างเทวสถานตามความเชื่อของตัวเองมีทั้งพุทธและพราหมณ์ เพราะมีผู้คนหลากหลายทั้งอินเดีย เปอร์เซีย ตะวันออกกลาง จีน อยู่รวมกัน ที่นี่จึงน่าสนใจในเรื่องความหลากหลายของผู้คนและความเชื่อ" ร.อ.บุญยฤทธิ์ กล่าวทิ้งท้ายนักวิชาการและผู้สนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ ผ่านลูกปัดสามารถเข้าชมนิทรรศการหมุนเวียน “ปริศนาแห่งลูกปัด” ที่อาคารนิทรรศการหมุนเวียน สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 28 มิ.ย. 2552 ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามโทร.02-225-2777 หรือ www.ndmi.or.th
0 ความคิดเห็น