http://kohkhokhao.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
หน้าแรก บทความ  ข้อมูลทั่วไป ข่าวสาร อสังหาริมทรัพย์ รวมรูปภาพ เว็บบอร์ด
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ที่พัก & โรงแรม
ข่าวสาร
อสังหาริมทรัพย์
สินค้าชุมชน
ภาพจากเกาะคอเขา
แผนที่เกาะคอเขา
หนังสือพิมพ์
เว็บบอร์ด
ท่องเที่ยวเกาะคอเขา
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสิ่งแวดล้อม
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับที่ดิน
เรื่องเล่าจากพลเมือง
« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

รอยทางลูกปัด เมืองท่าโบราณและเส้นทางข้ามคาบสมุทร

รอยทางลูกปัด เมืองท่าโบราณและเส้นทางข้ามคาบสมุทร

รอยทางลูกปัด เมืองท่าโบราณและเส้นทางข้ามคาบสมุทร



งานสัมมนานานาชาติ เรื่อง "ปริศนาแห่งลูกปัด" เมื่อกลางเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา ยังมีประเด็นใหญ่ที่น่าสนใจอีกมากมาย

โดยเฉพาะปัญหาการลักลอบขุดหาและลักลอบค้าโบราณวัตถุ อันเป็นการทำลายหลักฐานความรู้ เกี่ยวกับการติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างผู้คนในซีกโลกตะวันตกและตะวันออกในสมัยโบราณ


ร้อยเอกบุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ นักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เสนอไว้ในการบรรยาย หัวข้อ "ปริศนาแห่งลูกปัดในภาคใต้ของไทย" ว่าแหล่งโบราณคดีในภาคใต้ที่พบลูกปัดนั้น บางแหล่งเช่นแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง อ.สุขสำราญ จ.ระนอง มีร่องรอยบ่งชี้ว่าเป็นแหล่งผลิตลูกปัดทั้งลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินคาร์เนเลียน และอาร์เกต เช่นเดียวกับแหล่งโบราณคดีควนลูกปัดหรือแหล่งโบราณคดีคลองท่อม จ.กระบี่ ที่พบลวดลายลูกปัดเป็นสัญลักษณ์แบบเดียวกับที่พบในอินเดีย เช่น ลูกปัดรูปหน้าคน

"เราพบลูกปัดที่เชื่อว่าคนท้องถิ่นในสมัยนั้นมีการติดต่อกับคนอินเดีย หรือไม่คนอินเดียก็ต้องเคยมาทำลูกปัดที่นี่ เราพบหินคาร์เนเลียนที่มีเทคนิคเดียวกับที่อินเดีย แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งถ้าดูจากเส้นทางเดินเรือเลียบชายฝั่งทะเลจากอินเดียมาฝั่งอันดามันก็ไม่ใช่เรื่องยาก การขุดค้นทางโบราณคดีทุกชั้นดินเราพบชั้นที่อยู่อาศัยที่มีกิจกรรมของมนุษย์ด้วย"

ร.อ.บุญยฤทธิ์ เปิดเผยด้วยว่าชาวบ้านแถบภูเขาทองมีลูกปัดโบราณเก็บไว้เกือบทุกบ้าน ส่วนที่คลองท่อมโบราณวัตถุส่วนใหญ่จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคลองท่อม นอกจากนี้การสำรวจเบื้องต้นบริเวณพื้นที่ฝั่งอันดามันหลายแห่งพบว่ามีแหล่งลูกปัดอีกมาก

ในประเด็นการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างผู้คนสองซีกโลกในอดีตนั้น ร.อ.บุญยฤทธิ์ เคยพบก้อนดีบุกหนักประมาณ 13 กิโลกรัม ที่แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง แต่ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว ส่วนลูกปัดที่มีฝีมือการผลิตชั้นสูงจากตะวันออกกลางโดยเฉพาะจากอิหร่านในสมัยราชวงศ์อะคิมิดิส รวมถึงลูกปัดทองรูปหัวสิงโตที่เคยพบในแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ก็ตกอยู่ในความครอบครองของเอกชนไปหมดแล้ว

"ผมคิดว่าคนโบราณแถบอันดามันน่าจะส่งออกผลิตภัณฑ์จากของป่า จำพวกสมุนไพร เขาสัตว์ หนังสัตว์ เครื่องเทศ ไม้สัก ไม้กฤษณา อย่างเช่นที่คลองท่อมเราพบไม้ซุงที่ตรงหัวไม้มีการเจาะรูสำหรับชักลาก น่าจะถูกชักลากเพื่อมาลงเรือที่คลองท่อม ที่นี่เรายังพบสำริดรูปเรือ และโบราณวัตถุประเภทหัวแหวนสลักเป็นรูปชาวโรมันแต่ฝีมือยังไม่ดีมาก น่าจะเป็นสินค้าทำเลียนแบบโรมัน แต่ทำขึ้นที่อินเดียก็ได้ หรืออาจเป็นไปได้ว่าทำจากโรมันโดยตรงแต่ส่งผ่านทางอินเดียที่เมืองท่ากาฐมัณฑุ"



นอกจากลูกปัด โบราณวัตถุประเภทอื่น เช่น เศษภาชนะดินเผาทั้งแบบมีลายและไม่มีลาย โดยเฉพาะลายกลีบบัวก็พบว่ามีเนื้อดินและลักษณะเดียวกับแหล่งโบราณคดีที่เมืองอะริกาเมดุ เมืองทางตอนใต้ของอินเดีย ส่วนโบราณวัตถุทางศาสนาพุทธ เช่น ธรรมจักรดินเผาที่คลองท่อม และหินคาร์เนเลียนที่ภูเขาทองและเขาสามแก้วมีรูปสัญลักษณ์ไตรรัตนะ

"ภาชนะดินเผาที่สำคัญที่พบมากและพบเป็นครั้งแรกในแถบอันดามันคือ Ruletted Ware ภาชนะชนิดนี้พบที่อินเดียและศรีลังกามากถึง 50 แหล่ง มีอายุประมาณ 2,000-2,200 ปีมาแล้ว มีความสำคัญมากในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เชื่อกันว่าภาชนะเหล่านี้แพร่กระจายมาทางอันดามัน ลามไปถึงเกาะชวา และบาหลี โดยคนสองกลุ่ม คือพ่อค้าและพระ เพราะฉะนั้นคนที่ทำภาชนะดินเผานี้น่าจะนับถือศาสนาพุทธ เป็นไปได้ไหมว่าลักษณะของภาชนะแบบนี้เป็นจุดเริ่มต้นของบาตรพระ" ร.อ.บุญยฤทธิ์ ทิ้งคำถามปลายเปิด

ต่อประเด็นเรื่องพ่อค้าเป็นผู้นำภาชนะสำคัญนี้มายังดินแดนอุษาคเนย์ พบหลักฐานสำคัญ ได้แก่ เหรียญทองหรือตราจารึกภาษาพราหมี ตัวอักษรทมิฬ อายุราวคริตศตวรรษที่ 1 มีสัญลักษณ์สำคัญทางศาสนาพุทธอยู่ตรงกลาง นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้ครอบครอง ได้จัดส่งให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาทมิฬจากหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์อ่าน และส่งกลับมาอ่านยืนยันโดย อ.ไมเคิล ไรท์ ได้ความว่า

...พฤหัสบดี ศรมสก นาวิกะสะ...

นพ.บัญชา อธิบายว่า "นาวิกะสะ" มีความหมายว่า "เป็นของนายเรือ" คำว่า "ศรม"(สะ-ระ-มะ) หมายถึง "ชนชั้นกลาง"

"ตรานี้แปลเป็นไทยได้ว่าตราของนายเรือนามว่าพฤหัสบดี ซึ่งน่าจะอยู่ในชนชั้นพราหมณ์"

ไม่เพียงโบราณวัตถุจากโลกตะวันตก ที่แหล่งโบราณคดีควนลูกปัดยังพบคันฉ่องสำริดจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นด้วย


กล่าวสำหรับบทส่งท้ายของ ร.อ.บุญยฤทธิ์ จบที่การไล่ลำดับเวลาของชุมชนสำคัญทางอันดามัน นั่นคือประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15 หรือราว 1,000 ปีที่แล้ว หลักฐานที่แหล่งโบราณคดีภูเขาทองและคลองท่อมเริ่มลดความสำคัญลง โดยมาพบหลักฐานทางโบราณคดีเพียงแห่งเดียวที่ทุ่งตึก เกาะคอเขา จ.พังงา

"ผมคิดว่าพัฒนาการการเรียนรู้เรื่องการเดินเรือดีขึ้น สามารถเดินทางตัดข้ามทะเลตรงๆ ไม่ต้องเลาะอ่าวเบงกอลเหมือนก่อน และยังมีการตัดข้ามคาบสมุทรด้วยเส้นทางบกไปอ่าวไทยได้ ทำให้เมืองท่าอื่นๆ ลดความสำคัญลงไป"

ผู้เสนอคนเดิมแจกแจงว่าที่ทุ่งตึกพบหลักฐานเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง สะท้อนการเติบโตเป็นเมืองท่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-16 อันตรงกับสมัยศรีวิชัย

"ทุ่งตึกเป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐอายุเก่าแก่ที่สุดในชายฝั่งอันดามันและของประเทศไทย พบหลักฐานเปอร์เซีย จีน ลูกปัดที่มีทองเคลือบด้านใน พบโมเสกที่สวยงามมาก ใช้เทคโนโลยีการผลิตชั้นสูง ผมคิดว่าเป็นลูกปัดแก้วที่สวยที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบภาชนะแก้วทรงคล้ายกับที่พบในซีเรียและอียิปต์ อาจใช้ใส่ยาหรือน้ำหอม" ร.อ.บุญยฤทธิ์ กล่าวและให้ข้อมูลว่าเกาะคอเขามีความยาวประมาณ 14 กิโลเมตร ตรงปากแม่น้ำตะกั่วป่า มีเส้นทางตัดข้ามคาบสมุทรไปออกอ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี ตามระยะทางเลียบแม่น้ำและเส้นทางบกจะพบโบราณวัตถุมากมาย เช่น รูปเคารพทางศาสนา



"ตามเส้นทางข้ามคาบสมุทรนี้มีแหล่งโบราณคดีรองรับเป็นระยะๆ ไปออกที่แหลมโพธิ์ ใกล้เมืองไชยา สมัยนั้นเส้นทางถูกควบคุมทางการเมืองโดยไชยา ในสมัยศรีวิชัยเราจะบอกได้ว่าไชยามีความสำคัญอย่างไร ถ้าเส้นทางนี้หมดความสำคัญลง เมืองไชยาก็จบไปด้วย" ร.อ.บุญยฤทธิ์ สรุป

กล่าวได้ว่าตำนานลูกปัดอันดามันสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก อย่างน้อยประมาณ 2,000 ปี ร่วมสมัยกับสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

นักโบราณคดีชาวต่างชาติอีกคนหนึ่งที่มายืนยันความสำคัญของแหล่งโบราณคดีฝั่งอันดามัน คือ ดร.เบเรนิส เบลลิน่า ไพรส์ นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประเทศฝรั่งเศส

ดร.เบเรนิส ศึกษาเรื่องลูกปัดนานหลายปีโดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้วของประเทศไทย เธอพบว่าที่นี่เคยเป็นชุมชนขนาดใหญ่ของกลุ่มคนหลากหลายชาติพันธุ์ทั้งทางตะวันออกคือจีน และทางตะวันตก ได้แก่ อาหรับและอินเดีย ที่มาติดต่อค้าขายและตั้งสถานีการค้าขึ้น

เธอให้ความเห็นว่าแหล่งโบราณคดีฝั่งอันดามันมีความสำคัญสมควรเสนอต่อองค์กรยูเนสโกเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทว่าปัญหาใหญ่ที่จะเป็นอุปสรรคก็คือมีการลักลอบขุดค้นโบราณวัตถุ จนทำให้แหล่งความรู้เสียหายย่อยยับจนประเมินค่าไม่ได้

"ดิฉันอยากขอร้องว่าเราต้องพยายามติดตามนำโบราณวัตถุเหล่านี้กลับมาเพื่อการศึกษาอย่างแท้จริง" ดร.เบเรนิส ทิ้งท้าย

เป็นคำร้องขอที่ท้าทายจิตสำนึกของคนไทยเจ้าของแผ่นดิน ทั้งใครก็ตามที่อยู่ในกระบวนลักลอบค้าโบราณวัตถุ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

*****
บทความที่เกี่ยวข้อง :
--The Golden Jubilee สุดยอดอัญมณีแห่งแผ่นดินสยาม
--Otto Kunzli (1948 ) ผู้ยิ่งใหญ่
--หินธิเบต
--รับกระแสโลกร้อนกับเครื่องประดับแซมบา
--Jewelry Art ศิลปะการทำเครื่องประดับ
--นาคา จิวเวลรี่ ลมหายใจแห่งศรัทธาในเครื่องประดับ
--พราวลาย' ความงามของเครื่องประดับไทย
--Jewelry designer เพิ่มคุณค่า สร้างสรรค์ด้วยงานดีไซน์
--อัญมณีและเครื่องประดับจีนกับการออกแบบ
--โมคุเมะ กาเน่
--ปฏิวัติเงียบเครื่องประดับเงินญี่ปุ่น
--คอมพิวเตอร์กับการออกแบบเครื่องประดับ
--สีสันและดีไซน์ ความงามอันหรูหรามีระดับ
--ว่าด้วยเรื่อง ‘ไทเทเนียม’
--มนต์เสน่ห์ ศิลปะในลูกปัด

ยุวดี วัชรางกูร
ภาพ - ร.อ.บุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ

1 มกราคม พ.ศ. 2552

ความคิดเห็น

  1. 1
    ลิงง่า
    ลิงง่า zalovekuy@lovekuyza.com 14/07/2009 16:12
    ไม่รู้
  2. 2
    นู๋นก
    นู๋นก 17/08/2009 20:09
    เข้าไปดูแหล่งลูกปัดได้หรือไม่ อยากรู้ว่าเป็นอย่างไร {icon4}
  3. 3
    25/05/2012 23:06

    เข้าไปดูแหล่งลูกปัดได้ครับ

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

 
view